ประมวลผลวันสอน

ประมวลผลวันสอน
ณ ร.ร.พระปฐมวิทยาลัย ม.2/1

ประมวลภาพ

การพัฒนาหลักสูตร

บทที่ 1
http://edu06550098.blogspot.com/2014/12/blog-post.html
http://edu06550098.blogspot.com/2014/12/1.html
http://edu06550098.blogspot.com/2014/12/blog-post_83.html
บทที่ 2
http://sonshiro25268.blogspot.com/2014/12/2_4.html
บทที่ 3
http://sonshiro25268.blogspot.com/2014/12/3.html
บทที่ 5
หนังสืออ่านเพิ่ม
การเรียนรู้ขุมทรัพย์ในตน

แผนการจัดการเรียนรู้



แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในทวีปยุโรป                   จำนวนเวลา 50 นาที                                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชา ภูมิศาสตร์                                                                                                                                                        ครูผู้สอน นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษาชั้นปีที่ 3 กลุ่มภูมิศาสตร์


 
1.  มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ตัวชี้วัด
             ม. 2/2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพ และสังคมของทวีปยุโรป
3. สาระการเรียนรู้
             ลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีปยุโรป
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
4.1) ความสามารถในการสื่อสาร
4.2) ความสามารถในการคิด
4.3) ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4.) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


5. คุณลักษณะอังพึงประสงค์
5.1) ใฝ่เรียนรู้
5.2) มุ่งมั่นในการทำงาน
5.3) มีจิตสาธารณะ
6. ภาระงาน/ชิ้นงาน
ภาระงาน: ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันตามความสนใจจากตัวเลือกที่ผู้สอนกำหนดไว้ให้ ซึ่งประกอบด้วย “ถ่านหิน เหล็ก น้ำมันเชื้อเพลิง ไม้สน แกะ องุ่น กุ้งลอบสเตอร์ วัวนม วัวเนื้อ และข้าวสาลี” โดยแต่ละกลุ่มสามารถมีความสนใจในตัวเลือกที่กำหนดไว้ได้ไม่เกิน 3 ตัวเลือก และแต่ละกลุ่มจะต้องไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับใบงานเรื่อง ตำแหน่งทรัพยากรในทวีปยุโรป กลุ่มละ 1 ชุด โดยลักษณะใบงานเป็นรูปแผนที่  ภูมิประเทศของทวีปยุโรป ซึ่งจะมีช่องว่างกระจายอยู่ทั่วทั้งแผนที่ให้ผู้เรียนใส่ชื่อทรัพยากร ที่พบได้ในพื้นที่นั้นตามความคิดเห็นของผู้เรียน จากนั้นจึงส่งตัวแทนกลุ่มนำทรัพยากรที่กลุ่มตนเองได้เลือกไว้ออกมาแสดงและอธิบายว่า ทำไมถึงเลือกทรัพยากรนั้นหรือความสำคัญของทรัพยากรที่เลือก มีที่มาหรือการกำเนิดอย่างไร  มีความสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร โดยผู้สอนจะพูดสรุปในตอนท้าย
7.กิจกรรมการเรียนรู้
7.1) ผู้สอนเข้าห้องเรียนทักท้ายผู้เรียนและใช้คำถามในการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการถามในเชิงลักษณะให้ผู้เรียนได้เป็นผู้บอกเรื่องที่จะเรียนเอง ซึ่งในที่นี้คือเรื่อง ทรัพยากรในทวีปยุโรป โดยอาจจะมีแนวทางการถามดังนี้ (ความสามารถในการคิดผ่านการตอบคำถามของผู้สอน)
ผู้สอน : นักเรียนรู้หรือไม่ว่านมที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้มาจากไหน?
ผู้เรียน : มาจากวัวตัวเมียครับ/ค่ะ
ผู้สอน : อื้ม นักเรียนรู้มั๊ยว่า วัวที่เขาผลิตนมให้นักเรียนดื่มเนี่ย มีสายพันธุ์มาจากยุโรป
ผู้เรียน : รู้ครับ/ค่ะ
ผู้สอน : ถ้าไม่มีวัวของยุโรปเราก็คงไม่มีนมอร่อยๆ ดื่มกันถูกมั๊ย?
ผู้เรียน : ครับ/ค่ะ
ผู้สอน : มีใครรู้อีกมั๊ยว่า ประเทศไทยใช้อะไรจากยุโรปอีกบ้าง?
ผู้เรียน : น้ำมัน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ รถยนต์ หุ่นยนต์ ครับ/ค่ะ
ผู้สอน : แล้วถ้าไม่มีทรัพยากรและสิ่งของเหล่านี้เราจะอยู่กันได้มั๊ย ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีรถยนต์?
ผู้เรียน : ไม่ได้ครับ/ค่ะ
ผู้สอน : ดังนั้น ในวันนี้ครูจะมาทำให้พวกเราเข้าใจและเข้าถึงความสำคัญของทรัพยากรที่สำคัญของ
          ทวีปยุโรป
7.2) ผู้สอนแบ่งผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันตามความสนใจจากตัวเลือกที่ผู้สอนกำหนดไว้ให้ ซึ่งประกอบด้วย “ถ่านหิน เหล็ก น้ำมันเชื้อเพลิง ไม้สน แกะ องุ่น ปลาค็อด วัวนม วัวเนื้อ และข้าวสาลี” โดยแต่ละกลุ่มสามารถมีความสนใจในตัวเลือกที่กำหนดไว้ได้ไม่เกิน 3 ตัวเลือก และแต่ละกลุ่มจะต้องไม่ซ้ำกัน (ไม่กำหนดจำนวนกลุ่ม) (ความสามรถในการแก้ไขปัญหาผ่านการจัดกลุ่มด้วยตัวเองภายใต้เงื่อนไขที่ผู้สอนกำหนด) (ความสามารถในการสื่อสารและใช้ทักษะชีวิตผ่านการตกลงร่วมกันว่าแต่ละกลุ่มจะมีความสนใจทรัพยากรใดบ้าง มีการให้ความคิดเห็น นำเสนอความคิด เพื่อหามติที่เป็นที่ยอมรับ)
7.3) ผู้สอนแจกใบงานเรื่อง ตำแหน่งทรัพยากรในทวีปยุโร ให้แต่ละกลุ่ม จากนั้นให้นำชื่อทรัพยากรที่ผู้เรียนสนใจไปใส่ช่องว่างในแผนที่เชิงภูมิประเทศของทวีปยุโรป โดยในใบงานนั้นจะมีช่องว่างให้ระบุข้อมูลทางด้านที่มาหรือการกำเนิดของทรัพยากรทั้งหมดในตัวเลือก ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของทรัพยากรกับพื้นที่ และการนำทรัพยากรนั้นไปใช้ประโยชน์ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมารายงานทรัพยากรที่ตนเองสนใจ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเวลาในการนำเสนอประมาณ 5 นาที โดยลำดับการออกมานำเสนอจะเป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละกลุ่ม (ความสามารถในการคิดและเทคโนโลยีผ่านกระบวนการทำงานกลุ่มที่มีลำดับขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนเป็นผู้ดูแลให้เกิดความเป็นไปนั้น คือต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการวางแผนการทำงานภายในกลุ่มอย่างเป็นระบบ) (ความสามารถในการสื่อสารและการแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทำงานกลุ่มที่ต้องมีการตกลงร่วมกันในเรื่องของความคิดเห็นที่มีความแตกต่าง)
7.4) แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทรัพยากรที่กลุ่มตนเลือกไว้ เมื่อแต่ละกลุ่มจบการรายงาน ผู้สอนจะเป็นผู้สรุปความรู้ในเชิงแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
7.5)  ผู้สอนกล่าวสรุปบทเรียนโดยรวม เก็บใบงาน
8. สื่อการเรียนรู้
8.1) ใบงานเรื่อง ตำแหน่งทรัพยากรในทวีปยุโรป
9. การวัดและประเมินผล
เกณฑ์การประเมิน : การทำใบงาน (10คะแนน)
รายการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก (3)
ดี (2)
ปานกลาง (1)
ปรับปรุง (0)
1. ผู้เรียนระบุพื้นที่ที่มีทรัพยากรนั้น
(ความสามารถในการคิด)
-
-
ระบุ
ไม่มีการระบุ
Solo 2 = การอธิบาย
2. ผู้เรียนระบุความสำคัญของทรัพยากร
(ความสามารถในการคิด)
-
ระบุ
-
ไม่มีการระบุ
Solo 2 = การอธิบาย
3. การบอกถึงประโยชน์จากทรัพยากร
(ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต)
(มีจิตสาธารณะ)
ระบุ
-
-
ไม่มีการระบุ
Solo 3 = การนำไปใช้
4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรกับพื้นที่
(ความสามารถในการคิด)
ระบุ
-
-
ไม่มีการระบุ
Solo 3 = การวิเคราะห์ ให้เหตุผล และแสดงความสัมพันธ์
5. การระบุข้อมูลลงแผนที่โครงร่างที่แบ่งออกตามเขตการปกครอง
ระบุ
-
-
ไม่มีการระบุ
Solo 1 = การระบุ การจำ


เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
  คะแนน
         เกณฑ์การตัดสิน
 ตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป
ดี
5-7 คะแนน
พอใช้
น้อยกว่า 5 คะแนน
ควรปรับปรุง

เกณฑ์การผ่าน
กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ ควรมีคะแนนระหว่าง 5-7  คะแนน ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณภาพระดับพอใช้

เกณฑ์การประเมิน : การเข้ากลุ่มและแสดงความคิดเห็น (4 คะแนน)
รายการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน
ดี (1)
ปรับปรุง (0)
1. มีการทำงานกลุ่มที่เป็นระบบ
(ความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้เทคโนโลยี)
(มุ่งมั่นในการทำงานและใฝ่เรียนรู้)
มี
ไม่มี
Solo 2 = การแก้ปัญหา แบ่งภาระหน้าที่
2. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(ความสามารถในการสื่อสารและการคิด)
(มุ่งมั่นในการทำงานและใฝ่เรียนรู้)
มี
ไม่มี
Solo 2 = การแสดงออกทางความคิดโดยการพูด
3. มีใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
(ความสามารถในการสื่อสาร)
มี
ไม่มี
Solo 3 = การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ให้เหตุผลหรือยกตัวอย่าง
4. มีการสรุปมติกลุ่มภายใต้หลักเหตุผลและการยอมรับร่วมกันภายในกลุ่ม
(ความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ทักษะชีวิต)
มี
ไม่มี
Solo 3 = การตัดสินใจ

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
  คะแนน
         เกณฑ์การตัดสิน
 ตั้งแต่ 3 คะแนน ขึ้นไป
ดี
2-1 คะแนน
พอใช้
น้อยกว่า 1 คะแนน
ควรปรับปรุง
เกณฑ์การผ่าน
กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์ ควรมีคะแนนระหว่าง 2-1  คะแนน ซึ่งเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณภาพระดับพอใช้

10.บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


ลงชื่อ .............................................................. ผู้สอน
                                                                                      (..................................................................................)

วิดีโอ